Last updated: 11 ต.ค. 2566 | 289 จำนวนผู้เข้าชม |
จุดประสงค์หลักของการใส่เสื้อช็อป เสื้อช็อปมีไว้ทำไม
เสื้อช็อป เป็นสิ่งที่เรามักเห็นและใช้ในชีวิตประจำวันอย่างบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องแบบของนักศึกษาคณะวิศวะและคณะสถาปัตย์ แต่ถ้าพูดถึงเสื้อช็อปในคนวัยทำงาน เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงชุดยูนิฟอร์มพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสายการผลิตเป็นส่วนใหญ่ซึ่ง เสื้อช็อป จะมีโลโก้หรือกราฟิกที่แสดงถึงสัญลักษณ์ขององค์กร โดย เสื้อช็อปทำจากวัสดุหลากหลาย เช่น ผ้าคอตตอน (Cotton), ไนลอน (Nylon), ผ้ายูนิเซล (Unicel), และอื่น ๆ เนื้อผ้าของ เสื้อช็อป จะไม่หนาหรือบางจนเกินไป แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าจุดประสงค์หลักของการใส่เสื้อช็อป เสื้อช็อปมีไว้ทำไม บทความนี้มีคำตอบให้
การใส่ เสื้อช็อป มีจุดประสงค์หลักที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้
เพื่อความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน
เสื้อช็อป ในสถาบัน องค์กรหรือในบริษัท สามารถทำให้รู้สึกสามัคคีระหว่างพนักงานด้วยกันเองได้ และเพื่อให้คนที่พบเห็นสามารถจำแนกได้ อย่างเช่น เครื่องแบบของนักศึกษาคณะวิศวะและคณะสถาปัตย์ หรือ พนักงานในโรงงานสายการผลิต เมื่อสวมใส่ เสื้อช็อป จะสามารถนึกถึงหน้าที่ ส่งผลทำให้พนักงาน หรือ นักเรียน นักศึกษา ทำหน้าที่ด้วยความเชื่อมั่น และสร้างแรงผลักดันในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
เพื่อสร้างความเท่าเทียม
เสื้อช็อป ช่วยให้ทุกคนที่มารวมตัวกันในที่ทำงาน หรือ สถาบันศึกษารู้สึกได้ถึงความเสมอภาค ไม่มีความกดดันในการสวมเครื่องแต่งกายที่แตกต่างกัน ไม่รู้สึกว่าใครเหนือกว่าใคร ต่อให้ใครจะสวมใส่เสื้อผ้าราคาแพง หรือ ราคาถูกแค่ไหน เมื่อถึงเวลาปฏิบัติหน้าที่ ทุกคนจะเท่าเทียมกันโดยต้องสวมใส่ เสื้อช็อป ในการทำงาน เป็นต้น
เสื้อช็อป ปลอดภัยจากความอันตราย
สำหรับเจ้าหน้าที่ หรือ นักเรียน นักศึกษาที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ เสื้อช็อปมีบทบาทที่สำคัญในการปกป้องร่างกายเป็นเสื้อชนิดหนึ่งที่อำนวยความสะดวกและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันภัยจากสะเก็ดไฟ อย่างผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ก็อาจจะมีอันตรายเกี่ยวกับการเกิด ไฟฟ้าสถิต หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการเชื่อมโลหะ เหล็ก ที่มีสะเก็ดไฟ ก็อาจจะทำให้เสื้อผ้าติดไฟได้ ช่วยป้องกัน คราบน้ำมันและฝุ่นละอองหลากหลายชนิด หรือเพื่อเพิ่มความสะดวกและลดความรุ่มร่ามของเสื้อผ้าชนิดอื่นในการใช้งานเครื่องจักร
เสื้อช็อป สะดวกเมื่อสวมใส่
เพราะเสื้อช็อป มีลักษณะผ้าบางเบาและรูปแบบที่ไม่คับขวางร่างกาย ทำให้รู้สึกสบายในช่วงเวลาที่อยู่นอกบ้านหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งเสื้อช็อปมักมีการออกแบบที่ช่วยให้ระบายอากาศได้ดีกว่าเสื้อคอปก ทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นสบายมากขึ้นในอากาศร้อน และอีกหนึ่งความสะดวก ของการสวมใส่เสื้อช็อปคือ ใส่เสื้อช็อปกับกางเกงยีน กระโปรง กระโปรงขาสั้น หรือกระโปรงยาว ทำให้มีความหลากหลายในการแต่งกายลุคต่าง ๆ
เสื้อช็อป แสดงความเป็นตัวตนของแต่ละองค์กร
เสื้อช็อป เปรียบเสมือนป้ายโฆษณาที่สามารถเคลื่อนไหวได้ เนื่องจากผู้สวมใส่จะเดินไปสถานที่ใดก็ตาม ผู้คนก็สามารถมองเห็นชื่อของบริษัท หรือ ชื่อสถาบัน ได้จากโลโก้ หรือ สัญลักษณ์ที่มีการสกรีน หรือ ปักไว้บนเสื้อช็อปจึงช่วยให้องค์กรเป็นที่รู้จักในวงกว้างออกไป อีกทั้งการสวมเสื้อช็อปยังสามารถทำให้ผู้สวมใส่ดูมีภาพลักษณ์ที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานที่ปฏิบัติหน้าที่มากยิ่งขึ้น
เสื้อช็อป เล่าเรื่องราว
การสวมใส่เสื้อช็อป นับเป็นการสื่อสารทางวิสัยทัศน์ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือความเชื่อต่างๆ ในองค์หรือสถาบันได้ บางองค์กร มีการเพิ่มเติมคำคมหรือวิสัยทัศน์ที่โดดเด่น โดยการปัก หรือ สกรีน ข้อความ ลงบนเสื้อช็อป
เสื้อช็อป ช่วยให้ผู้บริโภคจำแนกได้ง่ายขึ้น
การสวมใส่เสื้อช็อป ในขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือ มีการออกบูธจะช่วยให้พนักงานดูสะดุดตาทำให้มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้บริโภคจะมองเห็น โลโก้ หรือ ชื่อบริษัทที่ปรากฏบนเสื้อช็อปที่สวมใส่ นั่นเอง
เสื้อช็อป เป็นเครื่องแบบโดดเด่นด้านสัญลักษณ์
เสื้อช็อปที่มีโลโก้หรือกราฟิกที่แสดงถึงสัญลักษณ์ขององค์กร บริษัท คณะหรือสาขาวิชา เมื่อสวมใส่จะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกให้มีความภาคภูมิใจในองค์กร หรือ สถาบัน ทุกครั้งเมื่อสวมใส่ เราจะเห็นได้ชัดเจนจาก นักศึกษาคณะวิศวะและคณะสถาปัตย์มักมีความรักและความภูมิใจในสาขาวิชาของพวกเขา การสวมใส่เสื้อช็อปที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของคณะหรือสาขาวิชาเป็นทางหนึ่งในการแสดงความเชื่อมโยงและความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนักศึกษาในวงการนี้
เพราะเสื้อช็อปไม่เพียงแค่เป็นสิ่งที่คุณสวมใส่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของคุณเองที่สื่อความหมายและแสดงถึงตัวตนของคุณเองอีกด้วย และแน่นอนว่า การใส่เสื้อช็อปมีจุดประสงค์หลักที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงความสะดวกสบายในการใช้งาน การปกป้องร่างกาย และ เสื้อช็อป มีความเรียบง่าย เหมาะกับการใส่ในโอกาสทั้งประจำวันและสามารถปรับเปลี่ยนลุคได้ตามสไตล์การแต่งกายของแต่ละคน
17 ม.ค. 2563